วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีทางการศึกษา

พระราชดำริที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษา
ความหมายและขอบเขตของการศึกษาhttp://www.prdnorth.in.th/The_king_study_06.php
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความหมายของการศึกษา เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้
"การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศก็ย่อมทำได้สะดวกราบรื่น ได้ผลที่แน่นอนและรวดเร็ว"
ความรู้กับดวงประทีปเปรียบกันได้หลายทาง ดวงประทีปเป็นไฟที่ส่องแสงเพื่อนำทางไป ถ้าใช้ไฟนี้ส่องไปในทางที่ ถูก ก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวกเรียบร้อย แต่ถ้าไม่ระวังไฟนั้น อาจเผาผลาญให้บ้านช่องพินาศลงได้ ความรู้เป็นแสงสว่างที่จะนำเราไปสู่ความเจริญ ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ความรู้ก็จะเป็นอันตรายเช่นเดียวกัน จะทำลายเผาผลาญบ้านเมืองให้ล่มจมได้" (๒๘ มกราคม ๒๕๐๕)

"การที่มีการศึกษาสมบูรณ์แล้วนี้ ทำให้แต่ละคนหลีกเลี่ยงไม่ได้จากความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้ สติปัญญาของตนให้เป็นประโยชน์และเป็นความเจริญวัฒนาแก่บ้านเมืองและส่วนรวม" (๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖)
พระองค์ทรงชี้ถึงปรัชญาการศึกษาที่น่าสนใจยิ่งคือ เมื่อบุคคลหนึ่งมีการศึกษาที่สมบูรณ์ ผลแห่งการมีการศึกษาสมบูรณ์นี้จะกำหนดให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้และสติปัญญาของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่นและสังคมส่วนรวมโดยไม่ต้องมีบุคคลใดมาร้องขอหรือเรียกร้องให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวมหรือประเทศชาติแต่การปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมหรือประเทศชาติของผู้มีการศึกษาที่สมบูรณ์เกิดขึ้นแต่ภายในจากจิตสำนึกแห่งสภาวะของการมีความรู้และสติปัญญาสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมีสิ่งจูงใจหรือข้อแลกเปลี่ยน เช่นประโยชน์ส่วนบุคคลหรือรางวัลใดๆมาเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่มีการศึกษาสมบูรณ์ปฏิบัติหน้าที่อันควรจะกระทำ ดังนั้นการศึกษาสมบูรณ์จึงมีความครบถ้วนในตัวเองทั้งองค์ความรู้และการใช้ความรู้เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ในความหมายเช่นที่กล่าวนี้การศึกษาจึงมีความหมายในเชิงสร้างสรรค์และเป็นผลดีเท่านั้น ถ้าจะกล่าวในเชิงกลับกันอาจกล่าวได้ว่าการศึกษาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวบุคคลหรือส่วนรวมนั้นไม่ใช่การศึกษาที่สมบูรณ์ การศึกษาที่จะนำไปสู่การศึกษาสมบูรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ว่าต้องประกอบด้วย การศึกษาทางวิชาการและการศึกษาทางธรรม ทั้งนี้เพื่อการศึกษาทางธรรมคอยกำกับการศึกษาทางวิชาการให้ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องและสนองตอบต่อเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังพระราชดำรัสมีความตอนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
"การแบ่งการศึกษาเป็นสองอย่าง คือการศึกษาวิชาการอย่างหนึ่ง วิชาการนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและแก่บ้านเมือง ถ้ามาใช้ต่อไปเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ขั้นที่สองก็คือ ความรู้ที่จะเรียกได้ว่าธรรม คือรู้ในการวางตัว ประพฤติและคิด วิธีคิด วิธีที่จะใช้สมองมาทำเป็นประโยชน์แก่ตัว สิ่งที่เป็นธรรมหมายถึงวิธีประพฤติปฏิบัติ คนที่ศึกษาในทางวิชาการและศึกษาในทางธรรมก็ต้องมีปัญญา แต่ผู้ใช้ความรู้ในทางวิชาการทางเดียวและไม่ใช้ความรู้ในทางธรรม จะนับว่าเป็นปัญญาชนมิได้" (๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๓)
นั่นหมายความว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ก่อให้เกิดความรู้ ทั้งความรู้ในทางวิชาการและความรู้ในทางธรรม ด้วยความรู้ทั้งสองด้านนี้จะก่อให้เกิด "ปัญญา" ขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายความหมายของปัญญาว่า
"ปัญญาแปลอย่างหนึ่งคือ ความรู้ทุกอย่างทั้งที่เล่าเรียนจดจำมา ที่พิจารณาใคร่ครวญคิดเห็นขึ้นมา และที่ได้ฝึกฝนอบรมให้คล่องแคล่วชำนาญขึ้นมา เมื่อมีความรู้ความชัดเจนชำนาญในวิชาต่างๆดังว่า จะยังผลให้เกิดความเฉลียวฉลาดแต่ประการสำคัญนั้นคือความรู้ที่ผนวกกับความเฉลียวฉลาดนั้นจะรวมกันเป็นความสามรถพิเศษขึ้น คือความรู้จริง รู้แจ้งชัด รู้ตลอด ซึ่งจะเป็นผลต่อไปเป็นความรู้เท่าทัน เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็จะเห็นแนวทางและวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นอุปสรรคปัญหา และความเสื่อม ความล้มเหลวทั้งปวงได้ แล้วดำเนินไปตามทางที่ถูกต้องเหมาะสมจนบรรลุความสำเร็จ" (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑)
ปัญญาในความหมายนี้ ทรงชี้ว่าเป็นสภาวะแห่งการรู้จริง การรู้แจ้งชัดและการรู้ตลอด ซึ่งสภาวะแห่งการรู้ทั้งสามนี้จะนำไปสู่การรู้เท่าทันและปัญญาในความหมายดังกล่าวนี้จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคและนำไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดง ถึงความหมายของการศึกษาที่เป็นปัจจัย ก่อให้เกิดความรู้และสภาวะแห่งการรู้จริงและรู้ทุกอย่าง เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญญาและด้วยปัญญาจะนำไปสู่ความสำเร็จ กล่าวให้ชัดเจนคือ การศึกษา ความรู้และปัญญาเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันไม่ได้ การจะเข้าใจเรื่องหนึ่งเรื่องใดให้สมบูรณ์จะต้องเข้าใจทั้งสามเรื่องอย่างเชื่อมโยงกัน
พระราชดำรัสองค์นี้ชี้ถึงขอบเขตการศึกษาที่ครอบคลุมตลอดชีวิตของบุคคล ตั้งแต่เกิดต่อเนื่องกันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เสมือนการศึกษากับชีวิตเป็นของคู่กัน นั่นหมายความว่าขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมถึงทุกเรื่องและทุกเวลาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์อาจกล่าวอีกนับหนึ่งได้ว่าการศึกษามิได้มีขอบเขตเฉพาะเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ด้วยความหมายและขอบเขตของการศึกษาตามแนวพระราชดำรินี้ จะเห็นว่าการศึกษาเป็นหัวใจของชีวิตมนุษย์ และการศึกษาเป็นเครื่องนำทางที่สำคัญของมนุษย์ให้ไปสู่การพัฒนาคุณภาพตนเอง และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม กล่าวให้ชัดเจนโดยสรุปคือความหมายของการศึกษาจะต้องกำกับด้วยจุดหมายของการศึกษาด้วย กล่าวคือเป็นการศึกษาที่สร้างสรรค์และเป็นผลดีแก่บุคคลและส่วนรวมเท่านั้น
.............................................................
สรุปการเรียนรู้
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีมาจากรากศัพย์

1.TEXTRE คือการประติดประต่อให้เป็นโครงสร้างสมบูรณ์แบบ
2.TECHNOLOGIA คือ การทำงานอย่างเป็นระบบ

*พฤติกรรมการทำงานอย่างเป็นระบบเป็นหัวใจของการทำงานของเทคโนโลยี*

เทคโนโลยีหมายถึง ระบบความคิดที่นำมาประติดประต่อเป็นโครงสร้างทางความคิดที่สมบูรณ์แบบและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

การศึกษาแตกต่างกับการเรียนรู้อย่างไร

นักปรัชญา 2กลุ่มให้ความหมายของการศศึกษาไว้ว่า
1.กลุ่มเสรีนิยม เชื่อว่า การศึกษาคือการพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงาม
2.กลุ่มสังคมนิยม เชื่อว่า การศึกษาคือสิ่งที่มีอยู่แล้วในสังคมหรือสิ่งที่ต้องประพฤติสังคมนั้นๆ เช่น
วัฒนธรรม ประเพณี

การศึกษา หมายถึง การที่บุคคลรู้จักและค้นพบการดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะสมตามอัตภาพของตน

*การศึกษาจะเกิดได้เมื่อมีการเรียนรู้*
การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคิด ในทางค่อนข้างถาวร จากไม่รู้เป็นรู้ จนทำให้เกิดความจำ เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการฝึกฝน ไม่ใช่จากฤทธิ์ของยา การบังเอิญ หรืออุบัติเหตุ ต้องมีสติขณะฝึกฝนทุกครั้ง
มนุษย์มีการเรียนรู้กันทุกคน จะมากหรือน้อยขึ้นกับกลุ่มของมนุษย์นั้นๆซึ่งการเรียนรู้ในสิ่งที่ดีหรือไม่ดีตลอดเวลาจะทำให้เกิดการศึกษาตามมา

*การเรียนรู้ ทำให้เกิดการศึกษา การศึกษา ทำให้เกิดปัญญา*
....................................................................................................................
วิธีระบบ
ระบบหมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ อย่างมีอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเชื่อมโยง
เข้าหากัน จนเป็นโครงสร้างใหญ่ ที่สามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีระบบมี 2 อย่างคือ

1.ระบบทางธรรมชาติ
* ระบบภายใน เช่น การหายใจ การย่อยอาหาร การขับถ่าย
* ระบบภายนอก เช่น อากาศ อุณหภูมิ ลม
2.ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น
*วิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น สิ่งประดิษฐ์ทั้งหลาย เครื่องยนต์ กลไก การไฟฟ้า อิเลคทอนิค
*พฤติกรรมศาสตร์ เช่น ครอบครัว ประเพณี ระบบในหน่วยงาน

3 ความคิดเห็น:

ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
nongterm กล่าวว่า...

หวัดดีคุณพี่นกผมได้เขามาดูแล้วฉากสีเขียวดี
ให้คะแนนเต็ม100ส่วน10000อิอิอิอิ.........

nongterm กล่าวว่า...

จากโหน่ง....ผมคงเนคนแรกที่เข้ามาดู